หนังฝรั่ง

หนังเกาหลี

หนัง การ์ตูน

ซี่รี่ย์หนังชุด

Pathfinder

Sunday, September 26, 2010

กว่าจะมาเป็นพาธไฟนเดอร์ (First Contact: The Story of Pathfinder)
          หลักฐานทางนิติเวชที่เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานนี้ชี้ชัดว่า ก่อนโคลัมบัส (Columbus) จะเกิดหลายศตวรรษ พวกไวกิ้ง (Viking) ยกทัพเรือจากตอนเหนือของยุโรป (Northern Europe) มาขึ้นบกชายฝั่งดินแดนอเมริกา (American shores) และความป่าเถื่อนของนักบุกเบิกชาวนอร์ส (Norse) ก็รุกรานดินแดนที่ปัจจุบันคือบอสตั้น (Boston) กับมหานครนิวยอร์ค (New York City) มันคงตื่นตาตื่นใจไม่น้อยที่จะจิตนาการถึงภาพกองทัพไวกิ้ง (Vikings) หมายยึดครองดินแดนที่ชนพื้นเมืองอเมริกัน (Native Americans) เรียกว่าบ้านมากว่า 25,000 ปี
          พวกไวกิ้ง (Vikings) ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความโหดร้ายทารุน, นิยมปล้นสะดม, และยึดครองดินแดนในยุโรป (Europe) สำเร็จแล้วมากมาย เมื่อพวกเขามองหาดินแดนแห่งใหม่ที่อุดมสมบูรณ์หมายเข้ายึดครอง ก็เล็งไปยังดินแดนโลกใหม่ (New World) เป็นที่แรก ตอนนั้นพวกเขายังไม่รู้ถึงชะตากรรมที่รออยู่ในอเมริกา (America) แล้วก็ยังไม่มีใครล่วงรู้ด้วยว่า พวกไวกิ้งซึ่งพยายามลงหลักปักฐานที่นี่ แทนที่จะเจริญรุ่งเรืองทำไมจึงกลับหายสาบสูญ และอารยะธรรมของพวกเขาก็เสื่อมถอยและล่มสลายไปในที่สุด มหากาพย์ไวกิ้ง (Viking sagas) ที่ว่าด้วยสงครามหฤโหดเข้าห้ำหั่นผู้คนที่อาศัยอยู่ในอเมริกา (America) แต่ก็ยังไม่ใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เมื่อนักรบจากสองวัฒนธรรมเข้าประหัตประหารกัน ประวัติศาสตร์หน้าสำคัญยังคงเป็นความลับมืดมนอยู่
          ประวัติศาสตร์บทที่ยังไม่กระจ่างชัด กลายมาเป็นจุดกำเนิดของ PATHFINDER หรือ พาธไฟนเดอร์ ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน เรื่องราวแอ็คชั่นสุดระห่ำและผจญภัยสุดตื่นตาตื่นใจที่จะจินตนาการย้อนไปถึง สมรภูมิรบครั้งแรกระหว่างพวกไวกิ้ง (Vikings) กับชนพื้นเมือง Wampanoag Indians ที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งตะวันออก (East Coast) ที่จะเล่าขานผ่านตำนานสุดล้ำว่าด้วยการแก้แค้นกับการไถ่บาปของนักรบคนสำคัญ
          “ผมปลื้มแนวคิดที่จับไวกิ้งกับชนพื้นเมืองอเมริกันมายู่ร่วมแผ่นดินเดียวกัน แล้วยังมีมหากาพย์ว่าด้วยวัฒนธรรมที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ซึ่งนั่นเหมาะกับการสร้างเป็นหนังมาก” มาร์คัส ไนสเปล (Marcus Nispel) ผู้กำกับภาพยนตร์กล่าว “แต่ถึงผมจะปลื้มพวกไวกิ้ง แต่ผมก็ไม่ชอบพวกหนังประวัติศาสตร์หรอกนะ ผมกลับชอบหนังที่เล่าเรื่องของคนสู้ชีวิต ซึ่งต้องฝ่าฟันอุปสรรค์นานัปการเพื่อเอาชีวิตให้รอดมากกว่า PATHFINDER หรือ พาธไฟนเดอร์ ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน จึงไม่ได้มีแต่เรื่องที่พวกไวกิ้งไม่ลงรอยกับชนพื้นเมืองอเมริกันเท่านั้น แต่ยังเน้นเรื่องราวสุดอมตะของผู้ชายคนหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนชีวิต จากคนที่มุ่งมั่นคิดแต่จะแก้แค้นให้สาสม มาเป็น คนที่ต้องใช้สติปัญญาเพื่อปกป้องผู้คนในความดูแลของเขา”
          ภาพยนตร์เรื่อง PATHFINDER หรือ พาธไฟนเดอร์ ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน ไม่ได้เริ่มต้นจากแนวคิดเพียงต้องการสะท้อนการค้นพบทางประวัติศาสตร์ครั้ง สำคัญที่น่าอัศจรรย์เท่านั้น แต่ยังได้แรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์นอร์เวย์ (Norwegian film) เมื่อปี 1987 เรื่อง Ofelas หรือ Pathfinder ที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม (Academy Award® Best Foreign Film) และเป็นที่ถูกอกถูกใจนักวิจารณ์ว่า เป็นผลงานที่สร้างความแปลกใหม่และจินตนาการราวฝันไปให้กับภาพยนตร์แนวแอ็ค ชั่นผจญภัย เหตุการณ์ตามท้องเรื่องเกิดขึ้นในแลปแลนด์ (Lapland) ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างภาพความโหดร้ายรุนแรง และมนต์มายาลึกลับของยุคโบราณ เพื่อเล่าเรื่องราวของเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่รอดชีวิตหลังจากชนเผ่าแสนสุขของ เขาถูกรุกราน แล้วเติบใหญ่ขึ้นมาจากการเลี้ยงดูเพื่อให้เขากลายเป็นผู้นำเยี่ยงวีรบุรุษ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวประทับใจ ไมค์ เมดาวอย (Mike Medavoy) กับ อาร์โนลด์ ดับเบิ้ลยู เมสเซอร์ (Arnold W. Messer) ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แห่ง Phoenix Pictures มากจนตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์มาดัดแปลงสร้างใหม่ทันที
          เมดาวอย กับ เมสเซอร์ พยายามหยิบงานชิ้นนี้ขึ้นมาปรับแต่งแปรโฉมอยู่หลายครั้งหลายครา แต่ก็ไม่มีปาฏิหาริย์ใด ๆ ช่วยให้โครงการนี้เป็นรูปเป็นร่างได้ จนกระทั่งวันที่พวกเขาร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับ มาร์คัส ไนสเปล (Marcus Nispel) ผู้กำกับภาพยนตร์เลือดใหม่ที่กำลังเป็นดาวรุ่งมาแรง และคว้ารางวัลจากผลงานโฆษณากับมิวสิควิดีโอที่แปลกแหวกแนว แล้วก็เพิ่งกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกที่นำภาพยนตร์คลาสสิคขึ้นหิ้งอย่าง The Texas Chainsaw Massacre มาปัดฝุ่นสร้างใหม่ ไนสเปลคุยกับเมดาวอย และเมสเซอร์ว่า เขาเคยคิดจะสร้างภาพยนตร์พวกไวกิ้งทำศึกกับชนพื้นเมืองอเมริกันมานานแล้ว แล้วทุกอย่างก็เริ่มก่อร่างสร้างตัวเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาจากตอนนั้นเลย
          “มาร์คัสอยากทำหนังที่พวกนอร์ส (Norsemen) มาเหยียบดินแดนอเมริกาเหนือมาก ๆ เราก็ถือลิขสิทธิ์ Ofelas อยู่ในมือด้วย ทุกอย่างจึงลงตัวอย่างเร็วมาก” อาร์โนลด์ เมสเซอร์ (Arnold W. Messer) กล่าว
          แบรดลี่ย์ เจ ฟิชเชอร์ (Bradley J. Fischer) ผู้บริหารงานอำนวยการสร้างภาพยนตร์กล่าวเสริมว่า “เราถกกันหลายแนวคิดเลยว่าจะเรียบเรียงสร้างภาพจากผลงานต้นฉบับขึ้นมาใหม่ ได้อย่างไร จะสอดแทรกแนวคิดใหม่ ๆ เข้าไปตรงไหนได้บ้าง แต่มันก็มักจะลากเรื่องราวให้เข้ารกเข้าพง ห่างไกลออกไปจากผลงานแบบที่เราอยากเห็นเป็นหนังเยอะเลย จนมาร์คัสโดดเข้ามานำทัพนั่นแหละ เขาแม่นราวจับวางว่าอยากจะปรับมุมใหม่ให้กับ PATHFINDER หรือ พาธไฟนเดอร์ ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน อย่างไร เขาฟันธงเลยว่า ‘ก็แค่เอาเรื่องที่มีอยู่แล้วนั่นแหละ มาแทรกการผจญภัยสุดห่ามดิบของพวกไวกิ้งกับอินเดียนแดงเข้าไป’ ซึ่งเราก็อึ้งไปเลย เพราะนั่นแหละที่เป็นกุญแจสำคัญที่จะไขปริศนาดัดแปลงให้ดูใหม่ได้อย่างไร”
          สำหรับไนสเปล ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดโอกาสให้เขาใช้ทักษะความรู้ความสามารถทั้งหมดในการทำ งาน ตั้งแต่การร่างภาพจากนิยาย แล้วนำไปสร้างกันในกองถ่ายสไตล์หน่วยคอมมานโด และตอกย้ำด้วยฉากแอ็คชั่นมันส์สะใจ เมื่อได้โอกาสสร้างภาพยนตร์ซึ่งให้ประสบการณ์แปลกใหม่ไม่ซ้ำใครแล้ว ไนสเปลก็หาแนวทางที่จะแทรกมุมมองแบบคนคิดนอกกรอบของเขาลงไปในผลงานเรื่องนี้ ซึ่งเขาก็ไม่เพียงได้แรงบันดาลใจจาก Ofelas ต้นฉบับ หากยังรวมถึงกระแสความนิยมมหากาพย์แฟนตาซี และผลงานแอ็คชั่นคลาสสิคหลายเรื่องที่ออกแนว ข้ามาคนเดียวสู้ศึกใหญ่หลวงเพื่อพิทักษ์ความยุติธรรมให้คงอยู่ แต่แนวคิดสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ วิสัยทัศน์ของเขาว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ จะต้องออกมาเป็นอย่างไร และให้ความรู้สึกราวกับเปิดหน้านิยายภาพสุดอลังการ ที่มีสงครามระหว่างชนเผ่านักรบสองวัฒนธรรมเป็นฉากหลังได้ลึกซึ้ง สะใจขนาดไหน
          “หนังของเรานี่ในที่สุดก็แตกต่างจากหนังนอร์เวย์ต้นฉบับ (original Norwegian film) โดยสิ้นเชิง เราอาศัยเป็นแนวว่าควรสร้างหนังเกี่ยวกับพวกไวกิ้งได้อย่างไร แล้วก็ต่อยอดจากขึ้นไปอีกแยะ” ไนสเปลเล่า
          ไนสเปลตั้งต้นจากการร่วมงานกับแล็ทต้า คาโลกรีดิส (Laeta Kalogridis) ผู้เขียนบทภาพยนตร์ที่ทำการบ้านก่อนเริ่มเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง PATHFINDER หรือ พาธไฟนเดอร์ ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน อย่างหนัก เข้าไปขุดค้นเกร็ดพงศาวดารทุกชิ้นที่พูดถึงพวกไวกิ้งในอเมริกาเหนือ และปริศนาทางประวัติศาสตร์ทุกเงื่อนปม ก่อนจะรวบรวมเข้าด้วยกันให้เป็นชิ้นเป็นอัน เมื่อนักโบราณคดีค้นพบหลักฐานสำคัญยืนยันการตั้งรกรากของพวกไวกิ้งอายุนับ พันปีในเมืองเล็กของ L’Anse Aux Meadows ใน Newfoundland เมื่อปี 1960 ก็เป็นการยุติเรื่องเล่าต่าง ๆ นานา และฟันธงว่า พวกไวกิ้งเคยมาเหยียบแผ่นดินอเมริกาเหนือ (North America) อย่างปราศจากข้อกังขา แต่ก็ก่อให้เกิดข้อสงสัยต่อมาว่า พอขึ้นฝั่งได้แล้วพวกเขากรุยทางลึกเข้าไปในดินแดนแค่ไหน แล้วผลที่ตามมาเป็นอย่างไร ซึ่งการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนอ้างอิงจากหลักฐานที่ค้นพบก็ยังไม่อาจหาข้อยุติ ได้
          ในเมื่อข้อเท็จจริงหลายอย่างยังคลุมเครือ คาโลกรีดิส กับ ไนสเปล จึงถือวิสาสะใช้อิสระอย่างเต็มที่ในการแต่งแต้มจิตนาการต่อยอดจากข้อเท็จ จริงทางประวัติสาสตร์เท่าที่ปรากฏ
          “ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ว่าพวกไวกิ้งจะรุกรานไปถึงที่ไหน พวกเขาก็จะตั้งรกรากลงหลักปักฐานกัน แล้วทำไมมาเหยียบอเมริกาแล้วจึงอยู่กันไม่รอดล่ะ ราวกับว่ามาถึงแล้วแต่โดนถีบออกไปอย่างนั้นแหละ มันน่าสงสัยว่าพอมาเจอกับชนพื้นเมืองอเมริกันแล้วเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา นี่คือคำถามข้อสำคัญที่ยังหาคำตอบไม่ได้ และเราก็ใช้จินตนาการและแฟนตาซีสุด ๆ เติมเต็มเข้าไป” ไนสเปลเล่า
          คาโลกรีดิสติดใจ ประเด็นความขัดแย้งระหว่างสองเผ่าพันธุ์ที่ต่างก็ภูมิใจในวัฒนธรรมของตัวเอง ซึ่งนั่นย่อมมีผลต่อการเลี้ยงดูเด็กกำพร้าอย่างโกสต์ (Ghost) ที่ต้องผ่านกระบวนการแปรพักตร์เปลี่ยนใจครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อเขาเริ่มเข้าใจซึ้งถึงภาระกิจการตามล้างแค้นด้วยเลือดที่จะนำไปสู่จุด จบของพวกไวกิ้งในที่สุด การเขียนบทภาพยนตร์ที่ตั้งใจให้แน่นไปด้วยฉากรบราฆ่าฟันกันชนิดโรมรันพันตู, เน้นความขัดแย้งที่ไม่อาจรอมชอมได้, และการเอาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย มากกว่าที่จะประดิษฐ์ถ้อยร้อยคำให้เต็มไปด้วยบทพูด คาโลกรีดิสมองว่า ฉากแอ็คชั่นดุเดือดเร้าใจจะเป็นตัวดึงให้แก่นของภาพยนตร์ทั้งเรื่องน่า ติดตามไปด้วย
          “นี่จะเป็นหนังที่ว่าด้วยการเอาชีวิตให้รอด ในสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวานชนิดไม่มีเป็นไปได้เอาเลย แล้วมันยังหมายรวมถึงวัฒนธรรมที่จะสืบทอดกันต่อไปด้วย” คาโลกรีดิสเล่า “ดิฉันคิดอยู่เสมอว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโกสต์กับพาธไฟนเดอร์จะต้องลงตัวพอดี ๆ และนั่นก็สำคัญมากเพราะมันจะทำให้เรื่องดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น มิหนำซ้ำยังมีความขัดแย้งอีกมากมายในใจของโกสต์เอง เพราะเขายังตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเป็นใครกันแน่”
          ตอนที่คาโลกรีดิสเริ่มลงมือเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง PATHFINDER หรือ พาธไฟนเดอร์ ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน ประเด็นที่ว่าพวกไวกิ้งเคยข้ามน้ำข้ามทะเลมาถึงชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ อเมริกา (East Coast of the United States) จริงหรือไม่ ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็น่าทึ่งมากที่พอเธอเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้เสร็จ การค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญก็ต้องจารึกเรื่องราวซึ่งไม่ต่าง ไปจากงานเขียนของเธอเลย “มันน่าตื่นเต้นมากหลังจากที่เขียนบทเสร็จแล้วสัก 2 อาทิตย์ เราก็อ่านในนิตยสาร Smithsonian Institute ว่ามีการค้นพบหลักฐานใหม่ ๆ ที่ยืนยันว่า พวกไวกิ้งเคยมาเหยียบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา (East Coast of the United States) จริง ๆ” ไนสเปลเล่า “ช่างเหมาะเหม็งอะไรจะขนาดนั้น”
          แม้บทภาพยนตร์เรื่อง PATHFINDER หรือ พาธไฟนเดอร์ ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน จะเข้าที่เข้าทางแล้ว แต่ไนสเปลก็ยังต้องเผชิญหน้ากับภาระหนักอึ้ง ในการสร้างภาพของป่าอเมริกันย้อนยุคกลับไปยังสมัยที่ยังไม่เคยมีใครวาดภาพ หรือถ่ายภาพไว้ ซึ่งนั่นทำให้เขาขาดผลงานต้นแบบไว้อ้างอิง แต่ความท้าทายแบบนี้ต่างหากที่เป็ฯแรงบันดางใจให้เขา ไม่น่าแปลกใจนักหรอกที่เขาฝ่าฟันอุปสรรคข้อนี้ด้วยวิธีการที่แหวกแนวไม่ เหมือนใคร เขาเจตนาสร้างภาพย้อนยุคไปยังตอนที่ทั้ง พวกไวกิ้ง และ ชนพื้นเมืองอเมริกันอินเดียน เข้าครอบครองดินแดนแห่งนี้ ราวกับภาพที่หลุดออกมาจากหนังสือนิยายแฟนตาซีเลยทีเดียว
          “ดินแดนอเมริกาเหนือตอนนั้นต่างไปจากที่เรารู้จักมากเลยนะ เหมือนกับเป็นโลกของมนุษย์ต่างดาวเลยล่ะ” ผู้กำกับสาธยาย “ทั้งสิงสาราสัตว์ สิ่งมีชีวิตในป่า ต้นไม้ใบหญ้า สภาพแวดล้อม ล้วนแปลกหูแปลกตา ผมก็เลยตัดสินใจว่าเราจะไม่นำข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ทุกกระเบียดนิ้วมา ใส่ไว้ใน PATHFINDER หรือ พาธไฟนเดอร์ ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน หรอก แต่เราจะสร้างภาพมายาน่าพิศวงตามแบบฉบับของเราเอง ทฤษฎีว่าด้วยช่วงเวลาตามท้องเรื่องนี้มีมากมาย แล้วก็มีไม่น้อยที่เรารู้แล้วอย่างแน่ชัด เราก็สร้างตามข้อเท็จจริงเหล่านั้น แต่ก็ไม่วายเสริมแต้มแทรกความคิดสร้างสรรค์ของพวกเราเองเข้าไปด้วย สุดท้ายแล้วเราก็อยากสร้างหนังที่สนุกสนาน และสร้างความตื่นเต้นให้กับคนดูด้วย”


Pathfinder ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน 1
Pathfinder ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน 2
Pathfinder ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน 3
Pathfinder ศึกนักรบผ่าแผ่นดิน 4

0 comments:

Post a Comment